การเล่นเปตองเบื้องต้น
  จุดเด่นของกีฬาเปตอง
1. เป็นพื้นฐานในการเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ ลักษณะของการเล่นเป็นการ เสริมสร้างแนวความคิด และสติปัญญาของผู้เล่น
2. ในระหว่างการเล่นร่างกายจะได้รับการบริหารทุกส่วน กล่าวได้ว่าในการเล่นเปตอง 6 เกมส์/วัน จะต้องออกกำลังในการใช้ลูกบลูที่มีน้ำหนัก 680/700 กรัม ถึงประมาณ 200 ครั้ง ก้มขึ้นลงประมารณ 250 ครั้ง เดินไปมาในสนามประมาณ 3 กิโลเมตร
3. การเล่นกีฬาประเภทนี้ง่าย และสะดวก เล่นได้ทุกเวลาทั้งในร่ม และกลางแจ้ง สนามเดิน หญ้า และลูกรัง
    ประโยชน์ของกีฬาเปตอง
พัฒนาทางด้านร่างกาย

- กำลังแขน ผู้เล่นจะฝึกการใช้กำลังทั้งนิ้วมือ ข้อมือ แขน ข้อศอก และหัวไหล่ให้สัมพันธืกัน เพื่อการบังคับลูกให้ได้จังหวะ และระยะที่ต้องการ
- กำลังขา ผู้เล่นจะต้องเดินไปเดินมาตามความยาวของสนามซึ่งมีขนาดยาว 15 เมตร กว้าง 4 เมตร ลุกนั่ง เพื่อการวาง หรือเข้าลูกตลอดเวลาการเล่น
- สายตา กีฬาเปตองช่วยให้เกิดการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างสายตา และมือ เนื่องจากต้องใช้สายตา กะระยะทาง พิจารณาแง่มุมต่าง ๆ ที่จะเข้าลูกตีลูก เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามต้องการ


พัฒนาการทางด้านจิตใจ
- กีฬาเปตองมีทั้งเดี่ยว คู่ทีม ผู้เล่นจะต้องเข้าใจถึงจิตใจของผู้ร่วมทีมเป็นอย่างดี มีการปรึกษาหารือกัน ยอมรับความคิดของกัน และกัน แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สมาธิเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าเป้นการเล่นประการใด ๆ ผู้เล่นจะต้องฝึกการวางเฉย ทำจิตให้สงบ ทำสมาธิให้ได้ ตั้งความหวังให้น้อย กว่าความเป็นจริง ไม่วิตกกังวลเกินไป ไม่ท้อถอยในการเล่น ไม่สนใจเสียงข่มขวัญ เสียงเชียร์ที่ดัง การสอนเกมการเล่นของฝ่ายตรงข้าม เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดความกังวลสับสน จะมีผลต่อเกมการเล่น ถ้าสมาธิไม่ดีพอ

อุปกรณ์การเล่นเปตอง
1. ลูกเปตอง (ลูกบูล) เป็นลูกทรงกลมด้านในกลวง ทำด้วยโลหะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 71-76 ม. มีน้ำหนัก 350-800 กรัม มีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนัก และเลขรหัสปรากฎอยู่บนลูกบูลอย่างชัดเจน หมายเหตุ : ปัจจุบันประเทศไทยมีลูกเปตองที่ทำด้วย พลาสติกเรียกว่า “ลูกพลาสตอง” ผลิต จำหน่าย โดยบริษัท มาราธอน มีขนาด น้ำหนัก มาตรฐาน ใกล้เคียงกับลูกเปตองสามารถใช้เล่นฝึกซ้อม หรือแข่งขันได้ในบางรายการ
2. ลูกเป้า เป็นลูกทรงกลมทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติก มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 25-35 ม.ม. ทาสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
3. สนามเล่น สามารถเล่นได้ทุกสนาม ที่มีด้านหน้าเรียบยาวตรงพอประมาณ ขนาดของสนามกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร (ยกเว้นพื้นไม้ พื้นคอนกรีตลาดยาง)
ประเภทการเล่น
แบ่งประเภทการเล่นเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทเดี่ยว ใช้ลูกบูล 3 ลูก
2. ประเภทคู่ คู่ผสม ใช้ลูกบูลคนละ 3 ลูก
3. ประเภททีม ใช้ลูกบูลคนละ 2 ลูก
วิธีการเล่นเปตอง
แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ๆ ละเท่า ๆ กัน ให้ลูกบูลมีลวดลายต่างกัน
- เริ่มด้วยการเสี่ยง เพื่อตัดสินว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายได้เริ่มเล่นก่อน
- ฝ่ายชนะเสื่ยงเริ่มเล่นคนใดคนหนึ่ง เลือกจุดเริ่มต้น เขียนวงกลมบนพื้นสนามเส้นผ่านศูนย์กลาง ระหว่าง 35-50 ซม. ห่างจากเส้นสนามได้น้อยกว่า 1 เมตร
- ฝ่ายชนะการเสี่ยงคนใดคนหนึ่งเข้าไปโยนลูกเป้าในสนาม ให้ห่างจากจุดเริ่มต้น ตามระยะดังนี้
- สำหรับเด็กเล็ก    ไม่น้อยกว่า 4 เมตร ไม่เกิน 8 เมตร
- สำหรับเยาวชน    ไม่น้อยกว่า 5 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- สำหรับเยาวชน    ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 9 เมตร
- ผู้ใหญ่หรือทั่วไป ไม่น้อยกว่า 6 เมตร ไม่เกิน 10 เมตร

การบริหารร่างกายก่อนและหลังการฝึก
ก่อนการเล่น 

การ บริหารร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักกีฬาทุกคน และต้องปฏิบัติเป็นประจำ ก่อนและหลังการฝึกซ้อมทุกครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ระบบภายในต่าง ๆ ของร่างกายตื่นตัว ระบบประสาทมีความฉับไวในการรับคำสั่งจากสมอง ไม่เกิดอาการเฉื่อยชา ระบบการหายใจทำงานได้สะดวก หัวใจสูบฉีดโลหิตได้ดี ปอดมีการขยายตัว ทำให้มีความจุของปอดทำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เพียงพอ นอกจากนั้นยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยืดหยุ่น แข็งแรงทนทานพร้อมที่จะเริ่มต้นฝึกซ้อมได้


วิธีการเข้าลูก
วิธีการเข้าลูกมีอยู่ 3 แบบ คือ
1. การโยนลูกระยะใกล้ (ลูกไลน์) การโยนลูกระยะใกล้ (ลูกไลน์) เป็นการโยนลูกให้ตกตั้งแต่จุดโยนหรือไม่เกิน 3 เมตร จากจุดโยน ใช้แรงเหวี่ยงจากแขน ข้อมือ และปลายนิ้วส่งลูก ระยะทางที่ลูกบูลวิ่งเข้าหาเป้าจะมีระยะทางไกลทิศทางของลูกบูลอาจมีการ เปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามลักษณะของพื้นสนามการโยนลูกนี้เหมาะสำหรับสนามเรียบ เท่านั้น
2. การโยนลูกระยะกลาง (ฮาฟดร๊อป) การโยนลูกระยะกลาง (ฮาฟดร๊อป) เป็นการโยนลูกให้ตกเกือบกึ่งกลางระหว่างจุดเริ่มกับลูกเห้าต้องโยนลูกให้สูง กว่าการโยนลูกระยะใกล้ และทุกลูกที่โยนออกไปต้องเป็นลูกที่หมุนกลับหลัง (ลูกสกรู) ข้อสำคัญของการโยนลูกคือ จุดตก การโยนลูกนี้เหมาะสำหรับพื้นสนามที่ไม่เรียบ เป็นหลุม พื้นสนามแข็ง ขระขระ หรือ จุดตกของการปล่อยลูกระยะใกล้เป็นหลุมไม่สามารถหาจุดตกได้
3. การโยนลูกโด่ง (ดร๊อฟ) การโยนลูกโด่งต้องโยนให้สูงกว่าลูกระยะกลาง และต้องให้ลูกหมุนกลับหลัง (สกรู) มากกว่า โดยใช้ปลายนิ้วสกรูลูก ไม่ใช่เป็นการกระดกข้อมูล การโยนลูกนี้จุดตกมีความสำคัญมาก ลูกนี้เหมาะสมกับพื้นสนามที่ไม่เรียบ เปียกแฉะ เป็นหลุมเป็นบ่อ ต้องโยนให้เกือบถึงลูกเป้า ห่างจากลูกเป้า ประมาณ 50-100 ซม. ทั้งนี้ต้องแล้วแต่พื้นสนาม ในการแข่งขันระดับโ การวัดระยะและการวัดคะแนน

     ข้อ 1.
ในการวัดคะแนนอนุญาตให้โยกย้ายลูกเปตองที่เกี่ยวข้องได้แต่ต้องทำเครื่อง หมายที่มีตำแหน่งสิ่งนั้น ๆ ไว้ก่อนโยกย้าย เมื่อการวัดคะแนนเสร็จสิ้นลง ให้นำทุกสิ่งที่โยกย้ายไปนั้นกลับมาวางที่ตำแหน่งเดิมทั้งหมดถ้าสิ่งกีดขวาง ที่มีปัญหานั้นไม่อาจโยกย้ายได้ให้ใช้วงเวียนทำการวัด
     ข้อ 2.
ในการวัดคะแนนระหว่างลูกเปตอง 2 ลูก ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันมาก ผู้เล่นคนหนึ่งได้วัดไปแล้ว และบอกว่าตนได้ ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามมีสิทธิ์ที่จะวัดใหม่ เพื่อความแน่ใจและถูกต้อง (ส่วนอุปกรณ์การวัดที่ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ห้ามวัดโดยการนับระยะเท้า ) เมื่อทั้งสองฝ่ายได้คะแนนแล้วหลายครั้งยังตกลงกันไม่ได้ต้องให้ผู้ตัดสิน เป็นผู้วัดเพื่อตัดสิน และผลการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด และหากผู้เล่นเป็นฝ่ายฝ่าฝืนกติกาข้อนี้ให้ผู้ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง หากยังฝ่าฝืนอีกให้ปรับเป็นแพ้
     ข้อ 3.
เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละเที่ยวลูกเปตองทุกลูกที่ถูกนำออกก่อนการวัด คะแนน ให้ถือว่าเป็นลูกฟาล์วและไม่มีสิทธิ์โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น
     ข้อ 4.
ถ้าผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำการวัดคะแนนแล้ว ไปทำให้ลูกเป้าหรือเปตองที่มีปัญหานั้นเคลื่อนที่ จะต้องเป็นฝ่ายเสียคะแนนนั้นและในการวัดแต่ละครั้งต้องให้ผู้เล่นของทีมที่ ทำให้ลูกเปตองเกิดปัญหาทำการวัดทุกครั้ง ในการวัดคะแนนแต่ละครั้ง ก่อนทำการวัดผู้ตัดสินต้องทำการคาดคะเนเสียก่อนว่าลูกใดเปรียบและถ้าได้วัด ไปแล้ว บังเอิญผู้ตัดสินไปทำให้เปตองหรือลูกเป้าเคลื่อนที่ผู้ตัดสินจะต้องทำการวัด ใหม่ และภายหลังการวัดปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าชนะยังคงชนะอยู่ให้กรรมการ ตัดสินตามความเป็นจริงถ้าการวัดครั้งใหม่แล้วปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่า จะชนะกลับแพ้ ให้ผู้ตัดสินตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม
     ข้อ 5.
ในกรณีที่ลูกเปตองของทั้งสองฝ่ายมีระยะห่างจากลูกเป้าเท่ากันหรือติดกับลูก เป้าทั้ง 2 ลูกให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้
   5.1 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเล่นแล้ว การเล่นเที่ยวนั้นถือว่าเป็นโมฆะ จะต้องเริ่มเล่นใหม่ด้านตรงข้าม โดยผู้เล่นฝ่ายที่ได้คะแนนในเที่ยวที่แล้ว เป็นผู้โยนลูกเป้า
   5.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะต้องเล่นจนหมดลูกเปตองเพื่อทำคะแนนเพิ่มเติมตามจำนวนลูกเปตองที่ อยู่ใกล้เป้ามากที่สุด
   5.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายยังมีลูกเปตองเหลืออยู่ ฝ่ายที่โยนลูกเปตองทีหลังจะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อไป ถ้าลูกเปตองทั้งสองฝ่ายยังเสมอกันอยู่ต้องเปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ เล่นและต้องสลับกันโยนฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้คะแนนแล้วเล่นต่อไปตามปกติ
     ข้อ 6.
หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกาะติดกับลูกเปตองหรือลูกเป้าจะต้องเอาสิ่งนั้นออก ก่อนการวัดคะแนนทุกครั้ง
     ข้อ 7.
การเสนอข้อประท้วงต่อผู้ตัดสินจะกระทำได้ในระหว่างการแข่งขันแต่ละเกมเท่า นั้น เมื่อเกมการแข่งขันเท่านั้น เมื่อเกมการแข่งขันนั้น ๆ ได้สิ้นสุดลงจะไม่มีประท้วงใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ผู้เล่นทุกคนต้องคอยระมัดระวังการละเมิดกติกาของฝ่ายตรงข้ามบัตรประจำตัวนัก กีฬา-รุ่นของผู้เล่นสนามแข่งขัน มาตรฐานของลูกเปตอง เป็นต้น
     ข้อ 8.
ในขณะทำการจับสลากและการประกาศผลการจับสลาก ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่พร้อมกันที่โต๊ะอำนวยการ หลังจากการประกาศผลไปแล้ว 15 นาที ทีมที่ไม่ลงสนามแข่งขันจะถูกปรับเสียคะแนนให้แก่ฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน
   8.1 หากเกินกำหนดเวลา 15 นาทีไปแล้ว การปรับคะแนนจะทวีเพิ่มขึ้น 1 คะแนน ทุก ๆ 5 นาที
   8.2 บทลงโทษตามข้อ 32 จะมีผลบังคับหลังจากการประกาศให้เริ่มการแข่งขันทุกครั้ง
   8.3 หลังจากการประกาศการแข่งขันได้ผ่านพ้นไปแล้ว 1 ชั่วโมงทีมที่ยังไม่ได้ลงทำการแข่งขันจะถูกปรับให้เป็นผู้แพ้ในเกมนั้น
   8.4 ทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวน ต้องลงทำการแข่งขันตามเวลาที่กำหนดโดยไม่อนุญาตให้รอผู้ร่วมทีมที่มาล่าช้า และจะเล่นลูกเปตองได้ตามจำนวนที่ผู้เล่นมีสิทธิเท่านั้น (ตามประเภทที่แข่งขัน)
     ข้อ 9.
เมื่อมีการแข่งขันในเที่ยวนั้นได้เริ่มเล่นไปแล้ว ผู้เล่นที่มาล่าช้าไม่มีสิทธิ์ลงเล่นในเที่ยวนั้น แต่อนุญาตให้ลงเล่นในเที่ยวต่อไปได้
   9.1 เมื่อการแข่งขันในเกมนั้นได้ดำเนินไปแล้ว 1 ชั่วโมง ผู้เล่นที่มาล่าช้าหมดสิทธิ์ลงทำการแข่งขันในเกมนั้น
   9.2 ถ้าการแข่งขันนั้นแบ่งเป็นสาย จะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้าลงแข่งขันในเกมที่ 2 ได้ ไม่ว่าผลการแข่งขันในเกมแรกจะแพ้หรือชนะก็ตาม
   9.3 หากทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจำนวนสามารถชนะการแข่งขันในเกมนั้นจะอนุญาตให้ผู้ เล่นที่มาเล่นช้าลงแข่งขันในเกมต่อไปได้ แต่ต้องเป็นผู้เล่นของทีมนั้น และต้องมีชื่อถูกต้องในในสมัครด้วย
   9.4 การแข่งขันแต่ละเที่ยวจะถือว่าเริ่มขึ้นแล้วก็ต่อเมื่อลูกเป้าที่โยนไปใน สนามนั้น ได้ตำแหน่งถูกต้องตามกติกา
     ข้อ 10.
การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะอนุญาตให้กระทำได้ก่อนจับสลากการแข่งขันเท่านั้น และต้องเป็นผู้เล่นที่ไม่มีรายชื่ออยู่ในทีมอื่นของการแข่งขันเดียวกัน
     ข้อ 11.
ในระหว่างการแข่งขันหากมีฝนตก ให้แข่งขันต่อไปจนจบเที่ยวเว้นแต่มีเหตุผลสุดวิสัย ไม่สามารถแข่งขันต่อไปได้ ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดเท่านั้นที่มีอำนาจให้หยุดการพักการแข่งขันชั่วคราว หรือยกเลิกการแข่งขัน
   

สนามเปตอง
เปตองเล่นได้กับทุกสภาพสนาม โดยทั่วไปมีด้านหน้าเรียบยาวตรงพอประมาณ ขนาดของสนาม กว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร พื้นไม้ คอนกรีต และพื้นหญ้าไม่เหมาะสำหรับกีฬาประเภทนี้
อุปกรณ์
   1. ลูกบูล หรือ ลูกเปตอง เป็นลูกทรงกลม ด้านในกลวง ทำด้วยโลหะ มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 71-80 มิลลิเมตร มีน้ำหนักระหว่าง 650-800 กรัม ลูกบูลจะต้องไม่มีการตกแต่งหรือแปลงสภาพโดยเด็ดขาด
   2. ลูกเป้า เป็นลูกทรงกลมเช่นเดียวกัน แต่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ระหว่าง 25-35 มิลลิเมตร อาจจะทาสีได้ แต่ต้องเป็นสีที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ในขอบเขตของสนาม

ความคิดเห็น

  1. I have observed that online diploma is getting popular because getting your college degree online has become a popular option for many people. A lot of people have not had a possible opportunity to attend a regular college or university nonetheless seek the improved earning potential and career advancement that a Bachelor’s Degree provides. Still people might have a qualification in one discipline but would like to pursue another thing they now possess an interest in. แทงบอลออนไลน์

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้